ระบบบ่อส้วมซึม

เป็นระบบธรรมชาติที่ใช้จุลลินทรย์เป็นตัวย่อยสลายของเสียที่ปล่อยลงไปในบ่อ (ปัจจุบัน ได้พัฒนามาเป็นแบบถังสำเร็จรูป) ซึ่งจุลินทรีย์มีอยู่หลายชนิด แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ประเภทที่ต้องการอ๊อกซิเจนมาก และ ประเภทที่ต้องการอ๊อกซิเจนน้อย

ในบ่อส้วมซึมที่ใช้กันส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ต้องการอ๊อกซิเจนน้อย การย่อยสลายจะช้ากว่าประเภทแรก แต่ก็เพียงพอต่อการย่อยสลายแต่ละวันในจำนวนคนที่ใช้ครับ  (ปริมาตรของบ่อที่บรรจุ) ดังนั้น จึงต้องบอกว่า บ่อบำบัดชนิด บ่อเกรอะบ่อซึม จะไม่มีโอกาสเต็ม ถ้าไม่มีอะไรเข้าไปแย่งเนื้อที่ปริมาตรในบ่อ

อะไรที่สามารถเข้าไปแย่งเนื้อที่ในบ่อ จะทำให้ เกิดอาการส้วมเต็มได้ ก็คือ “น้ำ” ซึ่งโดยปกติแล้ว น้ำจะเป็นตัวช่วยนำพาของเสียไหลลงไปในบ่อเกรอะได้ง่าย แต่ก็ด้วยการต่อท่อภายในบ่อเกรอะ ทำให้ระดับน้ำส่วนที่จะเพิ่มสูงขึ้นนั้น ได้ไหลเข้าไปในบ่อซึมที่จะซึมออกไปในดินที่อยู่รอบๆบ่อซึม (ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถังแซคสำเร็จรูปที่รวมบ่อเกรอะบ่อซึมไว้ด้วยกัน โดยมีผนังแยกอยู่ในถังเดียวกัน)

ถ้าระดับน้ำใต้ดินสูง (ส่วนใหญ่ระดับน้ำใต้ดินจะอยู่ระดับคงที่ แต่ที่ทำให้ระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น เนื่องจากหลายๆกรณี แต่ที่มี % ที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การทรุดตัวของดินบริเวณนั้น) ทำให้น้ำในบ่อซึมสูงขึ้นตาม จนกระทั่งแทนที่จะซึมออกไปรอบๆบ่อ กลับกลายเป็น ไหลย้อนเข้าบ่อเกรอะ จนทำให้เนื้อที่ปริมาตรในการบรรจุของเสียน้อยลง อากาศภายในก็น้อยตามไปด้วย จุลลินทรีย์แม้ว่าต้องการอากาศน้อยก็ตาม แต่ถ้าน้อยเกินไปก็อยู่ไม่ได้ ระบบการย่อยสลายก็จะด้อยประสิทธิภาพไปด้วยครับ ถึงแม้ว่า เราจะใช้วิธีสูบส้วมให้มีปริมาตรการกักเก็บมากขึ้นก็ตาม แต่ด้วยระดับน้ำใต้ดินสูง สูบไปไม่กี่วัน ส้วมก็กลับมาเต็มอย่างเดิม หรือการเติม EM ก็ตาม (EM ก็คือจุลลินทรีย์) สามารถช่วยได้ระยะเดียว เพราะว่า ปริมาณอ๊อกซิเจนในบ่อต่ำมาก ใส่ลงไปไม่นานก็ตายหมด

วิธีแก้ไข ป้องกันส้วมเต็มนั้น พอจะทำได้ 2 วิธี คือ

  • ทำให้บ่อเกรอะบ่อซึม สูงขึ้นมาจากระดับน้ำใต้ดิน
  • ใช้ถังแซคสำเร็จรูปที่ป้องกันระดับน้ำใต้ดินไม่ให้เข้าไปรบกวนระบบย่อยสลายภายในครับ (น้ำที่ล้นจากถังแซคจะออกไปตามท่อระบายออก ไปลงดินหรือท่อระบายน้ำ)

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.scgbuildingmaterials.com